โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะอินทรีย์ครัวเรือนที่ต้นทาง ประจำปี 2566

Posted by:

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

การคัดแยกขยะอินทรีย์ครัวเรือนที่ต้นทาง ประจำปี 256๖

ภายใต้โครงการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และภายใต้โครงการ “จังหวัดสะอาด”

  1. ชื่อโครงการ :โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกยะอินทรีย์ครัวเรือนที่ต้นทาง ประจำปี พ.ศ. 256๖ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดบงอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  2. ผู้รับผิดชอบ: สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง

๓. หลักการและเหตุผล ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง ได้อนุมัติโครงการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 256๖  ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๖ แผนงานเคหะชุมชน งานกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งบดำเนินงาน ค่าใช้สอย รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ “โครงการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม” งบประมาณตั้งไว้ เพื่อสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ลงมติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) และแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดหนองคาย ภายใต้โครงการ “จังหวัดสะอาด”นั้น

การคัดแยกขยะอินทรีย์ที่ต้นทาง เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำขยะมูลฝอยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ช่วยให้ปริมาณขยะที่เก็บขนระหว่างทางลดลง เกิน 50% ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ขยะตกค้างที่ยังไม่ได้รับการเก็บขนส่วนหนึ่งไม่ส่งกลิ่นเหม็นเน่า ทำให้ประชาชนมีความรู้ในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์หรือการนำเศษอาหารไปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกทางหนึ่ง

ดังนั้น การจัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะอินทรีย์ครัวเรือนที่ต้นทาง ประจำปี พ.ศ. 256๖ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนทำให้ประชาชนในชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

๔. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ขยะมูลฝอยอินทรีย์ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น
  2. เพื่อให้ขยะมูลฝอยตกค้างสะสมลดลง
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านการคัดแยกขยะ
  4. เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศูนย์เรียนรู้ขยะมูลฝอยชุมชนเพิ่มขึ้น

๕. เป้าหมายของโครงการ

  1. ผู้เข้ารับการอบรม มีดังนี้

1.1  ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน                  จำนวน ๑๔ คน

1.2  ส.อบต. ทุกหมู่บ้าน                     จำนวน ๑๔ คน

1.3  อสม.ทุกหมู่บ้าน                         จำนวน ๑๔ คน

1.4  อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)    จำนวน ๑๔ คน

1.5  ภาคประชาชน                          จำนวน ๑๔ คน

๒. รณรงค์คัดแยกขยะอินทรีย์ และสาธิตในพื้นที่เป้าหมาย ๑๔ หมู่บ้าน ในตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

๖. วิธีดำเนินโครงการ

 

  1. จัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์
  2. ฝึกปฏิบัติการภาคสนาม
  3. รับสมัคร/จัดตั้ง “เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” (อถล.)
  4. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขยะมูลฝอยชุมชน

๕. จัดตั้งกองทุน/ธนาคารขยะ

 

๗. งบประมาณ

 

ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๖ แผนงานเคหะชุมชน งานกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งบดำเนินงาน ค่าใช้สอย รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ “โครงการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม” งบประมาณ ตามรายละเอียดนี้

 

กิจกรรมที่ ๑ การอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง

 

ลำดับที่ รายละเอียดค่าใช้จ่าย จำนวนเงิน
1. ค่าอาหารผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ๗๐ คน คนละ ๕๐ บาทเป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ๗๐ คน คนละ ๒๕ บาท/มื้อ จำนวน ๒ มื้อ เป็นเงิน  

3,500 บาท

3. วัสดุในการจัดฝึกอบรม

๓.๑ สมุดปกอ่อน เล่มละ 10 บาท จำนวน ๗๐ เล่ม เป็นเงิน

๓.๒ ปากกา ด้ามละ 10 บาท จำนวน ๗๐ ด้าม เป็นเงิน

๓.๓ อุปกรณ์สาธิต (ถังพลาสติกสีดำ มีหู มีฝาปิด ขนาดบรรจุไม่น้อยว่า ๓5 ลิตร หรือ 1๐ แกลลอนลิตร พร้อมตัดก้น) จำนวน ๗๐ ถัง ถังละ ๑๓๐ บาท เป็นเงิน

 

700 บาท

700 บาท

 

 

9,100 บาท

4. ป้ายไวนิล (ป้ายโครงการ) เป็นเงิน 1,000 บาท
5. ค่าวิทยากร (2 ชั่วโมง) เป็นเงิน 1,200 บาท
รวมรายจ่ายกิจกรรมที่ ๑ เป็นเงินทั้งสิ้นน็ ๑๙,๗๐0 บาท

 

          กิจกรรมที่ ๒ ออกภาคสนามรณรงค์สาธิตและปฏิบัติการคัดแยกขยะอินทรีย์

 

ลำดับที่ รายละเอียดค่าใช้จ่าย จำนวนเงิน
๑. อุปกรณ์สาธิตภาคสนาม (ถังพลาสติกสีดำ มีหู มีฝาปิด ขนาดบรรจุไม่น้อยว่า ๓5 ลิตร หรือ 1๐ แกลลอนลิตร พร้อมตัดก้น) จำนวน  ๗๗0 ถัง ถังละ  130 บาท

เป็นเงิน

 

 

 

100,100 บาท

รวมรายจ่ายกิจกรรมที่ ๒ เป็นเงินทั้งสิ้นน็ 100,100 บาท

 

รวมทั้งหมด เป็นเงิน 119,800

          ** ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นเพียงการประมาณราคา สามารถถัวเฉลี่ยทุกรายการ

ขั้นตอนการดำเนินงานการจัดการขยะที่ต้นทาง

ขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน

1.การสร้างองค์ความรู้ มีแผนการอบรมสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชน/ชุมชน

1.1.การจัดการขยะ 3 Rs

1.2.การคัดแยกขยะ 4 ประเภท

1.3.การนำขยะไปใช้ประโยชน์

2.การสร้างการมีส่วนร่วม การคัดเลือกคณะกรรมการธนาคารขยะ

2.1.คณะกรรมการธนาคารขยะคัดเลือกจากตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านที่มีจิตอาสาทำงานเพื่อส่วนรวม

2.2.คณะกรรมการธนาคารขยะ มีประมาณ 10-15 คน

2.3.คณะกรรมการธนาคารขยะทำงานแบบจิตอาสา

2.4.การกำหนดระเบียบธนาคารขยะ

1.ตัวอย่างตามเอกสารแนบ แต่ละพื้นที่อาจไม่เหมือนกัน ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

2.เน้นการสร้างวินัยคน เช่น ระยะเวลาการฝากขยะและความต่อเนื่องของการฝาก การขาดฝาก

3.การกำหนดสิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิก

3.การสร้างกระบวนการทำงาน (Process) เพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติงานธนาคารขยะหมู่บ้าน

1.กำหนดแผนปฏิบัติงานธนาคารขยะให้คงที่ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับสมาชิก

2.ใน 1 เดือน ทำกิจกรรมธนาคารขยะ 1 วัน สถานที่ เช่น ศาลาประชาคมหมู่บ้าน

3.ขยะที่นำมาฝากจะต้องดีรับการคัดแยกและส่งร้านรีไซเคิลภายในวันเดียว

4.ไม่มีโกดังหรืออาคารเก็บขยะธนาคารขยะจริงๆ อยู่ที่ครัวเรือนของประชาชน

5.ไม่มีเงินลงทุน เพราะมูลค่าอยู่ที่ขยะที่นำมาฝาก

4.การสร้างเครือข่าย (Network) ในรูปแบของ

1.คณะกรรมการ

2.สมาชิก

3.ภาคีสนับสนุนหลักการธนาคารขยะหมู่บ้าน

1.เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน

2.ครัวเรือนจะต้องมีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และจัดหาภาชนะเก็บรวบรวมขยะไว้

3.คณะกรรมการธนาคารขยะ ทำงานแบบจิตอาสา ไม่มีงบประมาณค่าจ้างจาก อบต.                     4.คณะกรรมการฯ ทำหน้าที่รับฝากขยะและสร้างขยะให้เกิดมูลค่า เพื่อนำเงินมาฝากเข้าบัญชีครัวเรือน

5.คณะกรรมการฯ ไม่รับซื้อขยะเป็นเงินสด เพราะธนาคารขยะส่งเสริมการฝากและเก็บออมจากของเหลือใช้

6.ไม่มีงบประมาณสนับสนุนเป็นกองทุนจาก อบต.หรือเทศบาล ยกเว้น การสนับสนุนวัสดุ เอกสาร เช่น ตาชั่งสำหรับชั่งขยะ สมุดบัญชีเงินฝากครัวเรือนหน้าที่สมาชิกธนาคารขยะ จะต้องปฏิบัติดังนี้

1.เป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาตามสำเนาทะเบียนบ้านในชุมชน

2.หนึ่งทะเบียนบ้าน เป็นหนึ่งสมาชิก

3.การสมัครสมาชิก ใช้ขยะรีไซเคิลเป็นค่าสมัครเท่านั้น

4.การนำขยะมาฝากจะต้องฝากต่อเนื่องเป็นประจำทุกครั้ง

5.เมื่อฝากขยะต่อเนื่องครบ6ครั้ง จะได้เป็นสมาชิกฌาปนกิจ

6.ถ้าครบ6ครั้งแล้ว ขาดฝากได้ไม่เกิน1ครั้งต่อเนื่อง

7.ถ้าขาดฝากต่อเนื่อง 2ครั้งติดกัน จะขาดสิทธิ์ฌาปนกิจและจะได้รับสิทธิ์ฌาปนกิจเมื่อนำขยะมาฝากต่อเนื่อง3 ครั้ง

8.เงินฌาปนกิจหักจากบัญชีครัวเรือนบัญชีละ20บาทต่อ 1 ศพ

9.หรือกติกาเพิ่มเติม อื่นๆ

๘. ผลที่ได้รับ

1.ขยะมูลฝอยอินทรีย์ชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 256๖ ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.ประชาชน เข้าร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย

 

3.หมู่บ้านชุมชนร้อยละ 100 มีการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอินทรีย์ชุมชน

4.หมู่บ้านชุมชนมีศูนย์เรียนรู้ขยะมูลฝอยชุมชน

๕. หมู่บ้านชุมชนมีกองทุนขยะหรือธนาคารขยะของตำบล

 

9.  ข้อเสนอแนะ เพื่อนำผลไปปรับปรุงการดำเนินงาน

1.  มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และบุคคลากรในการจัดทำโครงการมีอยู่อย่างจำกัด

ข้อเสนอแนะ   ดำเนินการเป็นประจำต่อเนื่องทุกปีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

2. บางพื้นที่หรือบางครัวเรือน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

ข้อเสนอแนะ  เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และให้ผู้นำชุมชนอำนวยความสะดวกและเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน

 

0
Page 5 of 32 «...34567...»