สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านศักยภาพ

                   1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

                       ตำบลกุดบง อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศเหนือ 8 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข  212 หนองคาย-บึงกาฬ ใช้เวลาเดินทางจากตัวอำเภอประมาณ 15 นาที จากตัวจังหวัดหนองคาย ประมาณ 50 นาที โดยพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

                   ทิศเหนือ          ติดกับเขตตำบลรัตนวาปี กิ่งอำเภอรัตนวาปี

                    ทิศใต้             ติดกับเขตตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย

                   ทิศตะวันออก     ติดกับเขต ต.พระบาทนาสิงห์ และ ต.รัตนวาปี กิ่งอำเภอรัตนวาปี

                   ทิศตะวันตก      ติดแม่น้ำโขงตลอดแนว (เขตชายแดนไทย-สปป.ลาว)

 

                   1.2  ลักษณะภูมิประเทศ

                             พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง มีเนื้อที่ทั้งหมด 69.54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,462 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกพืชไร่ เป็นต้น สภาพภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มสลับเนิน ส่วนที่เป็นที่ราบลุ่มมักมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน สภาพของดินเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ทางทิศตะวันตกตามแนวแม่น้ำโขง สภาพของดินค่อนข้างสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวนและทำนา นอกจากนี้ พื้นที่ตามแนวแม่น้ำโขง ชายแดนไทย-ลาว ยังเป็นเส้นทางค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งเหมาะแก่การเปิดเป็นจุดผ่อนปรนชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องของการค้าขาย การเดินทางไปมาหาสู่กันของประชาชนทั้งสองประเทศ

 

                   1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

                             ตำบลกุดบง มีลักษณะสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแห้ง และมีปริมาณน้ำฝนปานกลาง มีทั้งหมด 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ฤดูร้อน อยู่ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง

                    ฤดูฝน อยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน

ฤดูหนาว อยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

 

                   1.4  ลักษณะของดิน

                             พื้นที่ดินของตำบลกุดบงเป็นลักษณะดินร่วนปนทราย

 

1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ

                             ตำบลกุดบงมีแหล่งน้ำที่สำคัญที่ช่วยในการอุปโภค – บริโภค และการเกษตร เช่น แม่น้ำโขง หนองแง่ง หนองฤาษี หนองหงึมน้อย หนองกุดจับ หนองแวง หนองบ่อ หนองคล้า หนองกุ้ง หนองนาโคก ห้วยก้านเหลือง ห้วยแข้ ห้วยขุมคำ ร่องน้ำเหมือง ฯลฯ

 

                   1.6  ลักษณะของไม้และป่าไม้

                             ตำบลกุดบงมีพื้นที่ป่าสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้มะค่าโมง ไม้กระเบากลัก ไม้มะพลับดง               ไม้ตะเคียน  ไม้ตะแบกต่าง ๆ เป็นต้น

 

2. ด้านการเมือง / การปกครอง

           2.1  เขตการปกครอง

                              องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบงมีเนื้อที่ทั้งหมด 69.54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,462 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองกุ้งใต้ บ้านหนองกุ้งเหนือ บ้านใหม่ บ้านโนน บ้านกุดบง บ้านดงบัง บ้านนาไม้เฮียว บ้านโนนฤาษี บ้านโนนสวรรค์ บ้านกลุ่มพัฒนา บ้านนิคมดงบัง บ้านโนนฤาษีใหม่ บ้านกุดบงใหม่ บ้านใหม่ทรายทอง 

 

2.2  การเลือกตั้ง

มีลักษณะของการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น ลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2 เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

                             ตำบลกุดบง มีจำนวนประชากรในพื้นที่ ทั้งหมด 8,680 คน แยกเป็นชาย 4,308 คน หญิง 4,372 คน มีจำนวนครัวเรือนรวม 2,514 ครัวเรือน

หมู่ที่

 บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

บ้านหนองกุ้งใต้

บ้านหนองกุ้งเหนือ

บ้านใหม่

บ้านโนน

บ้านกุดบง

บ้านดงบัง

บ้านนาไม้เฮียว

บ้านโนนฤาษี

บ้านโนนสวรรค์

บ้านกลุ่มพัฒนา

บ้านนิคมดงบัง

บ้านโนนฤาษีใหม่

บ้านกุดบงใหม่

บ้านใหม่ทรายทอง

118

247

174

163

206

179

157

262

194

219

154

191

117

133

172

452

324

281

332

309

217

449

331

344

248

402

226

285

195

451

294

273

324

300

205

429

358

339

261

350

234

295

367

903

618

554

656

609

422

878

689

683

509

752

460

580

รวม

2,514

4,372

4,308

8,680

3.2  ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ช่วงอายุ หญิง ชาย รวม
อายุต่ำกว่า 18 ปี 1,892 2,027 3,919
อายุ 18 – 60 ปี 1,862 1,660 3,522
60 ปีขึ้นไป 618 621 1,239
รวม 4,372 4,308    รวมทั้งสิ้น  8,680  คน

 

4. สภาพทางสังคม

                    4.1  การศึกษา

                             เขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง มีสถานศึกษา, ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน  14 แห่ง ดังนี้

                                      –  โรงเรียนระดับประถมศึกษา     7    แห่ง                 

                                      –  โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา        1    แห่ง                 

                                      –  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน            1    แห่ง        

                                      –  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.         3    แห่ง        

                                      –  การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)  ตำบลกุดบง       1  แห่ง

                                      –  ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง  1  แห่ง

 

                   4.2  สาธารณสุข

                             ตำบลกุดบงได้ส่งเสริมงานสาธารณะสุข รวมทั้งหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ดังนี้

                                      –  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล                2    แห่ง

                                      –  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)        128  คน

 

                   4.3  อาชญากรรม

                             ตำบลกุดบงมีหน่วยงานที่คอยสนับสนุนในการป้องกันการเกิดอาชญากรรม ดังนี้

                                –  สถานีตำรวจ (หมวด ตชด.) รับผิดชอบดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน   จำนวน 1 แห่ง (ฐานฯ ตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่/ใหม่ทรายทอง หมู่ที่  3,14  ตำบลกุดบง)

–  จุดตรวจประจำหมู่บ้าน ตำบล จำนวน 14 แห่ง

4.4  ยาเสพติด

                             ตำบลกุดบงมีพื้นที่เสี่ยงภัยยาเสพติดอันเนื่องมาจากพื้นที่ติดกับชายแดน ซึ่งเป็นเส้นทางในการขนส่งยาเสพติด องค์การบริหารส่วนตำบลมีแนวทางในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวด

 

                   4.5  การสังคมสงเคราะห์

                             องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบงได้ดำเนินการสงเคราะห์ ผู้ยากไร้ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ตามแนวทางของรัฐบาลกำหนด

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน

                    5.1  การคมนาคมขนส่ง

                             พื้นที่ตำบลกุดบง มีถนนสายหลักผ่าน  1  สาย คือ ทางหลวงหมายเลข  212  หนองคาย – บึงกาฬ  ซึ่งเป็นถนนสายยุทธศาสตร์ในการคมนาคม สัญจร การขนส่งสินค้า เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างตำบลกุดบงกับเขตพื้นที่อื่น ๆ ในเขตจังหวัดหนองคาย  อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมทางหลวง  สำหรับเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง  สภาพของถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบางสาย ไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เท่าที่ควร  โดยเฉพาะในฤดูฝนมักเป็นหลุมเป็นบ่อและมีน้ำท่วมขัง  ส่งผลให้การสัญจรไปมาของประชาชนทั่วไปไม่ค่อยสะดวกนัก

 

                   5.2  การไฟฟ้า

ประชาชนในเขตตำบลกุดบง  มีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเดินสายไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน)   ยกเว้นผู้ที่ปลูกบ้านอยู่ตามพื้นที่การเกษตร (ไร่/นา) บางส่วน ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้  ซึ่ง อบต.กุดบง จะได้พิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป

 

                   5.3  การประปา

                             ตำบลกุดบงมีระบบประปาหมู่บ้านและประปาส่วนภูมิภาค มีใช้ทุกหมู่บ้าน / ทุกหลังคาเรือน   โดย ระบบประปา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง  มี  5  หมู่บ้าน  นอกนั้นอยู่ในความ รับผิดชอบของคณะกรรมการน้ำประปาของแต่ละหมู่บ้าน   ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง กำลังดำเนินการโอนการบริหารจัดการน้ำประปาหมู่บ้าน ให้หมู่บ้านดำเนินการเองทั้งหมด ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบน้ำประปาหมู่บ้าน พ.ศ. 2548

 

                   5.4  โทรศัพท์

                             –  ระบบโทรศัพท์สาธารณะ (ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว)        

 

                   5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                             –  ไปรษณีย์อนุญาต (เอกชน)                 จำนวน     1    แห่ง

 

6. ระบบเศรษฐกิจ

 6.1  การเกษตร

                                 พื้นที่การเกษตรของตำบลกุดบง ประกอบด้วย ยางพารา, พริก, ถั่วฝักยาว, ใบยาสูบ เป็นต้น โดยมีบริษัทมาขอรับซื้อกับเกษตรกรโดยตรง

 

6.2  การประมง

                                 พื้นที่ตำบลกุดบงสามารถทำการประมงได้ตามแหล่งน้ำในพื้นที่ ดังนี้ แม่น้ำโขง หนองแง่ง หนองฤาษี หนองหงึมน้อย หนองกุดจับ หนองแวง หนองบ่อ หนองคล้า หนองกุ้ง หนองนาโคก ห้วยก้านเหลือง ห้วยแข้ ห้วยขุมคำ ร่องน้ำเหมือง ฯลฯ ซึ่งสารถนำไปขายในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทปลาแม่น้ำโขงจะขายได้ราคาค่อนข้างดี

 

6.3  การปศุสัตว์

                               โดยทั่วไปเกษตรกรในตำบลกุดบง ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการเพาะปลูก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานและเป็นอาหาร แต่ก็สามารถผลิตจนไปถึงการนำไปขายในตลาดได้ เช่น วัว เป็น ไก่บ้าน ใข่เป็ดและใข่ไก่ เป็นต้น

 

6.4  การบริการ

                               ตำบลกุดบงมีสถานที่พำนักแบบ “โฮมสเตย์” คอยให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งจัดทำเป็นกลุ่มอาชีพของชุมชนของบ้านใหม่และบ้านหนองกุ้ง โดยสามารถติดต่อสอบถามกับผู้ใหญ่บ้านได้โดยตรง

 

6.5  การท่องเที่ยว

                                 สถานที่ท่องเที่ยวตำบลกุดบง ประกอบด้วย

                                      –  “แม่น้ำสองสี”  บริเวณนี้มีแม่น้ำงึมไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่ที่เรียกว่าแม่น้ำสองสี (สีของแม่น้ำทั้งสองไม่เหมือนกัน)  มีทิวทัศน์ที่สวยงาม

                                      –  “ชายหาดริมฝังโขง”  ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำโขง ในฤดูแล้งจะมีหาดทรายขาวขึ้นเป็นบริเวณกว้าง เป็นสถานที่พักผ่อน น้ำโขงตื้นเขินสามารถลงเล่นน้ำได้และมีบริการเช่าห่วงยาง

                                     –  “เส้นทางพุทธประวัติหลวงพ่อพระสุก พระเสริม พระใส”  บริเวณปากน้ำงึมและแม่น้ำโขงยังเป็นเส้นทางพุทธประวัติ คือเป็นเส้นทางอัญเชิญพระพุทธรูป 3 องค์ (พระสุก พระเสริม พระใส) จากประเทศลาว มาตามแม่น้ำงึมออกสู่แม่น้ำโขงและอัญเชิญขึ้นสู่เมืองหนองคาย เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ในแง่ของการเป็นเส้นทางพุทธประวัติ

                                    –  “บั้งไฟพญานาค”  บริเวณแม่น้ำโขงยังมีปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า “บั้งไฟพญานาค” ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกไฟกลมสีแดงอมชมพู ไม่มีเปลว พุ่งขึ้นจากใต้แม่น้ำโขงขึ้นสู่ฟ้าแล้วหายไปเอง เป็นปรากฏ- การณ์ที่เกิดขึ้น ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา) ของทุก ๆ ปี  ตำบลกุดบงมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงและยังมีจุดชมบั้งไฟพญานาค ไว้คอยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

 

6.6  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

                                 ตำบลกุดบงประกอบด้วยการพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ดังนี้

–  กลุ่มทอเสื่อชุมชน บ้านกลุ่มพัฒนา

–  กลุ่มผลิตปุ๋ยหลักชีวภาพ

–  กลุ่มบ้านพักโฮสเตย์ บ้านใหม่ , บ้านหนองกุ้ง

–  กลุ่มอาชีพปลาร้าบอง บ้านนิคมดงบัง

–  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้านค้าชุมชนบ้านนิคม

–  กลุ่มทอผ้าบ้านกุดบงใหม่

–  กลุ่มเย็บผ้าบ้านโนนฤาษีใหม่

–  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลกุดบง

–  กลุ่มเกษตรกรบ้านใหม่ทรายทอง

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

 7.1  ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

หมู่บ้านในตำบลกุดบง แบ่งออกเป็น 14 หมู่บ้าน ดังนี้

– หมู่ที่ 1 บ้านหนองกุ้งใต้

– หมู่ที่ 2 บ้านหนองกุ้งเหนือ

– หมู่ที่ 3 บ้านใหม่

– หมู่ที่ 4 บ้านโนน

– หมู่ที่ 5 บ้านกุดบง

– หมู่ที่ 6 บ้านดงบัง

– หมู่ที่ 7 บ้านนาไม้เฮียว

– หมู่ที่ 8 บ้านโนนฤาษี

– หมู่ที่ 9 บ้านโนนสวรรค์

– หมู่ที่ 10 บ้านกลุ่มพัฒนา

– หมู่ที่ 11 บ้านนิคมดงบัง

– หมู่ที่ 12 บ้านโนนฤาษีใหม่

– หมู่ที่ 13 บ้านกุดบงใหม่

– หมู่ที่ 14 บ้านใหม่ทรายทอง

 

7.2  ข้อมูลด้านการเกษตร

                                เกษตรกรมีการเพราะปลูกพืชชนิดต่างๆ ตามพื้นที่และฤดูกาล เช่น ยางพารา, พริก, ถั่วฝักยาว, ใบยาสูบ เป็นต้น

7.3  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

                               แหล่งน้ำทางการเกษตรที่สำคัญของตำบลกุดบง เช่น แม่น้ำโขง หนองแง่ง หนองฤาษี หนองหงึมน้อย หนองกุดจับ หนองแวง หนองบ่อ หนองคล้า หนองกุ้ง หนองนาโคก ห้วยก้านเหลือง ห้วยแข้ ห้วยขุมคำ ร่องน้ำเหมือง ฯลฯ

 

7.4  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

                                ตำบลกุดบงมีการจัดทำเป็นระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาหลัก ในการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค โดยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น การขุดเจาะหาแหล่งน้ำบาดาล หรือสูบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ  นำมากรองบำบัดให้สะอาดสามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้

 

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

 8.1  การนับถือศาสนา

                             เขตพื้นที่ตำบลกุดบง  ชาวตำบลกุดบงนับถือศาสนาพุทธ และมีวัด/สำนักสงฆ์ (ศาสนาพุทธ)  จำนวน  16  แห่ง   สำหรับองค์กรทางศาสนาอื่น  -ไม่มี-

 

8.2  ประเพณีและงานประจำปี

                               งานประเพณีและงานประจำปีที่สำคัญของตำบลกุดบงมีดังนี้

–  กิจกรรมอยู่ปริวาสกรรมบวชชีพราหมณ์

–  ประเพณีงานบุญมหาชาติ

–  วันเข้าพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน เครื่องสังฆภัณฑ์

–  วันออกพรรษา ถวายผ้าพระกฐิน

–  การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

–  เข้าค่ายพุทธธรรม  คุณธรรม

–  การแข่งขันเรือยาวประเพณี

–  งานประเพณีบุญบั้งไฟ

–  แห่พระสรงน้ำ วันสงกรานต์

–  ประเพณีแห่หด

ฯลฯ

 

8.3  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

                             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของตำบลกุดบงที่สืบทอดมายังชนรุ่นหลัง ได้การ การทำเครื่องจักรสานต่างๆ พราหมณ์ ปราชญ์ชาวบ้าน การประกอบพิธีทางศาสนาและการประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวบ้านเป็นกุศโลบายของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชนรุ่นหลังได้กระทำแต่ความดี เป็นต้น

  ภาษาถิ่นที่ใช้ มี 2 ภาษา ได้แก่  ภาษาพวน และภาษาอิสาน

 

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

 9.1  น้ำ

                                ตำบลกุดบงมีแหล่งน้ำที่สำคัญที่ช่วยในการอุปโภค – บริโภค และการเกษตร เช่น แม่น้ำโขง หนองแง่ง หนองฤาษี หนองหงึมน้อย หนองกุดจับ หนองแวง หนองบ่อ หนองคล้า หนองกุ้ง หนองนาโคก ห้วยก้านเหลือง ห้วยแข้ ห้วยขุมคำ ร่องน้ำเหมือง ฯลฯ

9.2  ป่าไม้

                                    ตำบลกุดบงมีพื้นที่ป่าสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ

 

9.3  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

                                    พื้นที่ตำบลกุดบงทางด้านทิศตะวันตก มีแนวเขตติดกับแม่น้ำโขง มีหิน กรวด ทรายเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามทิศทางการไหลของแม่น้ำโขง  ซึ่งเป็นทรัพยากรในพื้นที่ที่สามารถให้สัมปทานแก่เอกชน เข้าดำเนินการหาผลประโยชน์ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไม่กระทบต่อสภาพแวดล้อม แนวเขต ชายฝั่ง และต้องไม่กระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง ได้รับประโยชน์ในรูปของค่าธรรมเนียม และภาษี ที่ทางหน่วยงานกลางจัดเก็บให้